side-area-logo
กว่าจะได้บ้านสักหนึ่งตำแหน่งไหนเกี่ยวข้องกับการออกแบบบ้านบ้างนะ ?

กว่าจะได้บ้านสักหนึ่งตำแหน่งไหนเกี่ยวข้องกับการออกแบบบ้านบ้างนะ ?

กว่าจะได้บ้านสักหนึ่งตำแหน่งไหนเกี่ยวข้องกับการออกแบบบ้านบ้างนะ ? กว่าจะมีบ้านสักหลังหลายคนที่เพิ่งมีบ้านหลังใหม่ก็น่าจะทราบดีว่าต้องเกี่ยวข้องกับใครบ้าง แต่หากเป็นผู้ที่ไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับบ้านเลยหล่ะ ? จะสามารถมีบ้านสักหลังได้แบบมั่นคง คงทน อยู่ยาว ๆ กันได้หรือไม่ ทำไมบางคนจ้างสถาปนิก ทำไมบางคนจ้างวิศวกร บางคนต้องจ้างทั้งคู่ หรือบ้างก็จ้างนักออกแบบตกแต่งภายใน สถาปนิกออกแบบบ้าน วิศวกรก็ออกแบบบ้าน แล้วทั้งสองฝ่ายต่างมีบทบาทต่างกันอย่างไร หลายๆ คนอาจเคยได้ยินประเด็นที่คลุมเครือเหล่านี้ไม่มากก็น้อย มาดูกันว่าแต่ละวิชาชีพนั้นทำอะไรตรงไหนของบ้านกันบ้าง

วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบ้านนั้นมี 2 วิชาชีพหลัก คือ สถาปนิก และวิศวกร แต่ใน 2 วิชาชีพนี้มีการแตกสาขาแยกย่อยออกไปตามแต่ขอบข่ายความเชี่ยวชาญ และสาขาวิชาที่ได้ร่ำเรียนกันมา ทำงานในส่วนต่าง ๆ ซึ่งประกอบขึ้นมาเป็นบ้านในฝันของเจ้าของบ้านตามรายละเอียดเนื้องานที่แตกต่างกันไป

  1. สถาปนิก คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบบ้านในด้านความสวยงาม เพื่อให้มีพื้นที่และประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการของเจ้าของบ้าน คิดคำนึงถึงลมฟ้าอากาศ สิ่งแวดล้อมของบ้านนั้นๆ โดยประสานงานกับวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างบ้าน งานของสถาปนิกยังรวมไปถึง การขออนุญาตก่อสร้าง และติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ให้คำแนะนำกับเจ้าของบ้านในขั้นตอนต่าง ๆ ของการสร้างบ้าน การตรวจสอบงานก่อสร้างให้เป็นไปตามที่ออกแบบ ซึ่งขอบเขตของงาน (scope of work) จะแตกต่างกันไปตามแต่ตกลงกับเจ้าของบ้าน
  2. นักออกแบบตกแต่งภายใน บ้างก็เรียก interior architect, interior designer หรือ มัณฑนากร มีหน้าที่ออกแบบงานภายในของบ้าน เช่น การเลือกเฟอร์นิเจอร์ built-in ชุดครัว โคมไฟ สุขภัณฑ์ ให้คำแนะนำเรื่องของตกแต่งต่าง ๆ งานตกแต่งภายในถือเป็นงานที่มีความสำคัญไม่แพ้งานออกแบบบ้าน เพราะงานตกแต่งภายในเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวกับเจ้าของบ้านที่สุดและเป็นงานที่มีมูลค่าสูง จึงมักจะมีการจ้างในงานสร้างบ้านที่มีงบประมาณสูงเท่านั้น
  3. ภูมิสถาปนิก (Landscape architect) คือนักออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดสวน และมีความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ สำหรับบ้านที่มีพื้นที่ภายนอกขนาดใหญ่ ที่ต้องการงานสวนรอบบ้านที่มีคุณภาพ ควรมีการใช้บริการภูมิสถาปนิกซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องภูมิสถาปัตยกรรมมาโดยตรง ซึ่งจะทำงานนี้ได้ดีกว่าสถาปนิกทั่วไป แต่ก็เช่นเดียวกับงานออกแบบตกแต่งภายในบ้านเล็ก ๆ ทั่วไปก็อาจจะไม่มีการว่าจ้างภูมิสถาปนิก
  4. วิศวกรโครงสร้าง (Structural engineer) คือวิศวกรที่ทำหน้าที่ออกแบบโครงสร้างให้แข็งแรง และก่อสร้างได้จริง ตามที่สถาปนิกออกแบบ ยกตัวอย่างเช่น หากสถาปนิกออกแบบให้มีเสาบ้านขนาด 20 x 20 ซม วิศวกรโครงสร้างก็จะออกแบบการเสริมเหล็กภายในเสานั้นให้แข็งแรงเพียงพอ หรือหากทำการคิดคำนวณแล้วต้องใช้เสาที่มีขนาดใหญ่กว่า ก็ต้องทำการประสานงานกับสถาปนิกให้เปลี่ยนขนาดเสา ซึ่งก็จะส่งผลต่อขนาดพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านต่อไป
  5. วิศวกรไฟฟ้า(electrical engineer) มีหน้าที่ออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งเรื่องกำลังไฟให้พอกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ระบบแสงสว่าง และระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน ระบบล่อฟ้า ระบบโทรศัพท์ โทรทัศน์วงจรปิด ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ ตามแต่ความต้องการของบ้านที่ออกแบบ
  6. วิศวกรเครื่องกล (mechanical engineer) มีหน้าที่ออกแบบระบบปรับอากาศ ระบายอากาศ ระบบดับเพลิง ลิฟท์ บันไดเลื่อน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสมัยใหม่มากมายที่สามารถนำมาใช้ในบ้าน วิศวกรเครื่องกลมีหน้าที่ออกแบบจัดระบบกลไกต่าง ๆ ภายในบ้านให้เข้ากันได้กับอุปกรณ์นั้น ๆ หรือแม้กระทั่งให้คำปรึกษากับเจ้าของบ้านในการเลือกอุปกรณ์เหล่านี้จากผู้ขายรายต่าง ๆ
  7. วิศวกรสุขาภิบาล หรือวิศวกรสิ่งแวดล้อม (environmental engineer) มีหน้าที่ออกแบบระบบประปา ระบบการระบายน้ำเสีย และของเสีย การระบายน้ำฝน ระบบรดน้ำต้นไม้ ระบบดับเพลิง และระบบที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หากใครที่กำลังตามหาบริษัทออกแบบบ้านแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นบ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น ปรึกษาเรา Homemax บริษัทรับออกแบบบ้านพร้อมสร้างบ้านให้คุณในราคาประหยัด ไม่ต้องหาหลายเจ้าให้วุ่นวายเพราะที่นี่ครบจบในที่เดียว โดยทีมสถาปนิกและวิศวกรมืออาชีพ สามารถติดต่อเราได้ที่ Homemax เราพร้อมใหใบริการคุณ 24 ชม.

Homemax-banner-ติดต่อ.

admin admin

error: Content is protected !!