บ้านเรือนในแต่ละรัชกาล
ตอน บ้านเรือนใน รัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 6

จากบทความเรื่อง ” บ้านเรือนในแต่ละรัชกาล ตอน บ้านเรือนใน รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 “ ทาง home max ได้นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับบ้านเรือน การเปลี่ยนแปลงและการผสมผสานวัฒนธรรมประเพณีการสร้างบ้านเข้าด้วยกัน และ การสร้างบ้านในแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาล 3 เราบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่สมัยก่อนที่บ้านเมืองของเรายังมีวัสดุหนักไม่กี่อย่างสำหรับการสร้างบ้านในสมัยรัชกาลที่1 จนถึงรัชการที่3 ที่เริ่มการทำใช้อุปกรณ์ในการสร้างบ้านเรือนอย่างอื่น เช่น อิฐ มาใช้ในการสร้างบ้านและยังได้รับอิทธิพลการสร้างบ้านจากต่างประเทศที่เข้ามาทำการค้ากับประเทศไทย home max ขอนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของการสร้างบ้านเรือนในรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 6 ภาคต่อของบทความบ้านเรือนในแต่ละรัชกาล ตอน บ้านเรือนใน รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3
การสร้างบ้านเรือนในรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 6
การสร้างบ้านในรัชกาลที่ 4 ในยุคนั้นเป็นยุคที่มีการทำการค้าขายสินค้ากับต่างชาติจึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การสร้างบ้านเรือนในสมัยนั้นจึงได้รับอิทธิพลการสร้างบ้านจากทางตะวันตกและทางยุโรปมากขึ้นการสร้าบ้านเรือนในสมัยนั้น วัสดุในการสร้างบ้านจะมีไม้ อิฐ ปูนเป็นวัสดุการสร้างบ้านหลักและยังมีการนำสีทาบ้านมาใช้มาการสร้างบ้านอีกด้วย
แบบการสร้างบ้านในสมัยนั้นในบ้านของผู้ที่มีฐานะหรือขุนนางบ้างท่าน.ในยุคนั้นจะสร้างบ้านออกมาเป็นสไตล์ Vernacular Classic Style หรือสร้างบ้านตามสไตล์ทางยุโรป แบบบ้านจะมีขนาดใหญ่ การสร้างจะใช้อิฐก้อนใหญ่ก่อผนังหนา ฉาบปูน และใช้ผนังด้านนอกเป็นกำแพงไปในตัว ทำให้บ้านแบบจีนนั้นดูหนักแน่นและทนต่อดินฟ้าอากาศมีช่องรับลมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี แต่เนื่องจากใช้ผนังในการรับน้ำหนัก รวมถึงชนิดที่ก่ออิฐหุ้มเสาไม้ซึ่งเป็นแกนใน เพื่อการถ่ายน้ำหนัก อาคารส่วนใหญ่จึงมีลักษณะทึบ มีช่องเปิดเฉพาะบางส่วนของผนังมีประตูและหน้าต่างจำนวนมาก เป็นบ้านสองชั้น มีโถทางเดินขนาดใหญ่
การสร้างบ้านในรัชกาลที่ 5
มีการสร้างบ้านคล้ายกับการสร้างบ้านในสมัยรัชกาลที่ 4 คือ การสร้างบ้านเรือนในสมัยนั้นจะได้รับอิทธิพลการสร้างบ้านจากทางตะวันตกและทางยุโรปมากขึ้นการสร้าบ้านเรือนในสมัยนั้น วัสดุในการสร้างบ้านจะมีไม้ อิฐ ปูนเป็นวัสดุการสร้างบ้านหลัก แต่การสร้างบ้านในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการใช้คอนกรีตเสริมเหล็กในการสร้างบ้านโดยช่วงแรกที่เริ่มใช้สร้างบ้านจะใช้กับโครงสร้างบ้านด้วยวัสดุนี้ มักใช้กับการสร้างบ้านส่วนเสา การสร้างบ้านส่วนคาน และการสร้างบ้านส่วนพื้นชั้นล่าง ส่วนการสร้างบ้านส่วนพื้นชั้นบนยังคงใช้ตง และพื้นไม้อยู่ รูปทรงอาคารจึงยังไม่แตกต่างจากอาคารที่ใช้ระบบผนังรับน้ำหนักมากนัก ต่อมาช่างมีความชำนาญจึงได้เปลี่ยนรูปแบบใช้สอยให้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น ใช้เป็นหลังคายอดโดม ผนังโค้ง หรือกันสาด ฯ ทำให้โครงสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 มีรูปทรงที่ซับซ้อนขึ้น
การสร้างบ้านในรัชกาลที่ 6
การสร้างบ้านในยุคที่สังคมไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก ความเจริญหรือความทันสมัยจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยนั้นเป็นช่วงต่อจากการปรับปรุงประเทศไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ตามแบบตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการก่อสร้างบ้าน อาคารตามแบบตะวันตกหลายแห่ง สะท้อนถึงความนิยมที่มีต่อสถาปัตยกรรมแบบจารีตเริ่มเสื่อมคลายลง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับทรงมีพระราชนิยมศิลปะแบบจารีต จึงฟื้นฟูสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบดั้งเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยระยะต้นเมื่อแรกเริ่มครองราชย์ งานก่อสร้างบ้านมีทั้งแบบตะวันตก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสถาปัตยกรรมแบบจารีต ซึ่งเคยสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่หมดความนิยมไปในรัชกาลก่อน

รูปจากเว็บไซต์ : http://art-culture-ramavi.blogspot.com/2014/02/6_26.html
บ้านเรือนในสมัยรัชกาลที่ 4

รูปจากเว็บไซต์ : https://pantip.com/topic/30601236
บ้านเรือนในสมัยรัชกาลที่ 5

รูปจากเว็บไซต์ : http://thai-stylehotel.blogspot.com/2010/02/4-phraya-palazzo-hotel.html
บ้านเรือนในสมัยรัชกาลที่ 6
แหล่งอ้างอิง
1. http://art-culture-ramavi.blogspot.com/2014/02/6_26.html
2. http://thai-stylehotel.blogspot.com/2010/02/4-phraya-palazzo-hotel.html
3. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C