side-area-logo
ฐานราก เสาเข็ม ถนน

เข็มยาวเท่าไหร่ บ้านจึงไม่ทรุด (สำหรับดินกรุงเทพฯ)

สาระน่ารู้เกี่ยวกับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ออกแบบบ้าน เรื่องของฐานราก เสาเข็ม ถนน ดินกรุงเทพฯนั้นเป็นดินอ่อนในชั้นบนๆ และค่อยๆแน่นขึ้นตามความลึก ปัจจุบันเนื่องจากการสูบน้ำบาดาลทำให้ชั้นดินต่างๆหดตัวลง โดยเฉพาะดินชั้นบนซึ่งอ่อนและมีน้ำอยู่มากก็จะหดตัวลงมาก ทำให้ผิวดินทรุด เกิดการแตกร้าวในสิ่งก่อสร้างสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ออกแบบบ้านที่พบเห็นได้ทั่วไป การทรุดตัวของอาคารจึงเกิดจากดินทรุดเป็นหลัก โดยเสาเข็มจะทรุดตัวไปพร้อมๆกับผิวดิน เสาเข็มที่ลึกมากขึ้นจะทรุดน้อยกว่าเข็มสั้นๆ โดยเฉพาะเสาเข็มยาวประมาณ 21 เมตรที่ปลายเข็มฝังอยู่ในชั้นทรายแน่นจะทรุดตัวน้อยกว่าผิวดินอย่างเห็นได้ชัด จนหลายคนเข้าใจว่าเข็มยาว (หมายถึงปลายอยู่ในชั้นทรายแน่น) ไม่ทรุด ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ทีอาคารทรุดหรือไม่ เพราะหากเราใช้เข็มขนาดเท่ากันความยาวเท่ากัน (หรือความยาวปลายเข็มที่จมอยู่ในชั้นทรายเท่ากันกรณีปลายเข็มวางในชั้นทรายแน่น) ในอาคารทั้งหลัง การทรุดตัวจะใกล้เคียงกัน ไม่เกิดปัญหาอาคารร้าว โดยถ้าใช้เข็มยาวการทรุดตัวน้อยจะมีความแน่นอนมากกว่า ปัญหาการแตกร้าวของสิ่งก่อสร้างสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ออกแบบบ้านบ้านในกรุงเทพฯเกิดจากการสร้างสิ่งก่อสร้างที่วางบนฐานรากที่ใช้เข็มยาวไม่เท่ากันมาเกาะกัน ไม่ใช่เกิดจากการทรุดตัว

รถไฟเหาะใต้ทางด่วน

เวลาเราขับรถในถนนใต้ทางยกระดับ หรือทางด่วน ในเลนที่ชิดกับต่อม่อทางด่วน จะรู้สึกได้ว่าถนนเป็นลอนคลื่น โดยยอดคลื่นจะอยู่ใกล้ๆตอม่อ สาเหตุเกิดจากโครงสร้างทางด่วนนั้นวางบนเข็มยาว แต่ถนนวางบนดินซึ่งจะทรุดตัวตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ฐานรากของทางด่วนจึงค้ำดินเหนือฐานรากลอยขึ้นมาเหนือดินบริเวณรอบๆที่ทรุดตัวลงไป อาการ “ฐานรากอยากโผล่พ้นดิน” นี้ เช่นเดียวกับตอม่อสะพานลอย และตอม่อสะพานทางแยกต่างระดับที่ทาง กทม. ต้องรื้อบล็อกตัวหนอนออกมาปูปรับระดับใหม่อยู่เป็นระยะๆ

บ้านชั้นเดียว ใช้เข็มยาวแค่ไหน (สำหรับดินกรุงเทพฯ)

สำหรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ออกแบบบ้านบ้านชั้นเดียว ซึ่งน้ำหนักลงเสาไม่มาก การใช้เข็มยาว 21 เมตรเพื่อให้ทรุดตัวน้อยอาจจะรับน้ำหนักได้มากเกินความจำเป็น หากใช้เข็มสั้นลงหน่อย 12-16 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้โดยมีการทรุดตัวบ้าง น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ยกเว้นระยะเสาห่างมากๆ (ซึ่งไม่ค่อยใช้กัน) ถ้ามีน้ำหนักมากๆต้องดูความเหมาะสมอีกทีครับ

แล้วสองชั้นละ ใช้เข็มยาวแค่ไหน (สำหรับดินกรุงเทพฯ)

สำหรับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ออกแบบบ้านบ้านสองชั้น หรือชั้นเดียวที่มีน้ำหนักลงเสามาก ต้องดูความเหมาะสมอีกที ถ้าทำได้ก็น่าใช้เข็มยาว 21 เมตรซึ่งจะได้การทรุดตัวน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการใช้เข็มยาวในขณะทำการก่อสร้างสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้านจะเกิดแรงสั่นสะเทือนต่อพื้นที่ข้างเคียงมาก ซึ่งถ้าใกล้ๆมีสิ่งก่อสร้างอยู่ อาจจะหลีกเลี่ยงได้โดยใช้เข็มสั้นที่ความยาวไม่ถึงชั้นทรายแน่น หรือการใช้เข็มเจาะครับ

เข็มเจาะต้องระวัง (สำหรับดินกรุงเทพฯ)

ในกรณีที่ต้องการน้ำหนักลงเข็มมาก แต่ไม่สามารถตอกเข็มได้ เนื่องจากจะมีแรงสั่นสะเทือน หรือ ไม่สามารถนำปั้นจั่น และเสาเข็มเข้าไปในสถานที่ก่อสร้างสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ออกแบบบ้านได้ อาจต้องใช้เข็มเจาะ เข็มเจาะนั้นมักจะมีปัญหาคุณภาพงานไม่ดี เนื่องจากเจาะลงไปลึกๆการตรวจสอบทำได้ยาก ขั้นตอนต่างๆอาจจะเกิดการผิดพลาดได้ง่าย การใช้ผู้รับเหมาเข็มเจาะควรให้มีวิศวกรของผู้รับเหมาคุมงานและลงชื่อรับรองความปลอดภัยด้วยครับ

ฐานรากลึกแค่ไหนดี (สำหรับดินกรุงเทพฯ)

ตอบตามหลักการก็ต้องถามวิศวกรผู้ออกแบบนั่นแหละครับ แต่มีแนวทางเบื้องต้นคือฐานรากบ้านสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ออกแบบบ้านไม่ควรลึกมาก สำหรับที่ราบให้ระดับบนของฐานรากอยู่ใต้ระดับดินประมาณ 50 ซม ส่วนพื้นที่ที่ดินลาดเอียง หรือใกล้ริมน้ำต้องดูสภาพพื้นที่อีกที สำหรับดินกรุงเทพฯที่มีปัญหาดินทรุดตัว การใช้ฐานรากลึกๆช่วยลดอาการ “ฐานรากอยากโผล่พ้นดิน” (สังเกตดูบริเวณใต้ทางยกระดับต่างๆ) แต่ไม่ควรทำเพราะเสาตอม่อยาวๆจะไม่แข็งแรง ครับ

ข้างบ้านตอกเข็มหกเหลี่ยมทำรั้ว เราต้องกลัวหรือเปล่า (สำหรับดินกรุงเทพฯ)

เข็มเล็กไม่น่ามีปัญหา ปัญหารบกวนข้างเคียงจากการตอกเข็มคือ

 

  1. แรงสั่นสะเทือน กรณีเข็มเล็กไม่มีเพราะไม่ได้ตอกลึกเอา blow count
  2. การที่ดินรอบๆบริเวณที่ตอกเข็มจะถูกเบียดออกข้างๆ และปูดขึ้นด้านบน อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าจำนวนเข็มและหน้าตัดใหญ่แต่ไหน โดยทั่วไปโครงสร้างสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้านที่ใช้เข็มเล็กมักเป็นโครงสร้างขนาดเล็กและเข็มไม่ถี่มาก แต่ถ้าเป็นรั้วตรงนี้จะไม่มาก
  3. การตอกใช้รถ back hoe กด หรือถ้าใช้สามเกลอก็สนุกดีครับ ลองไปดูเค้าตอกจะเป็นเพลงพื้นบ้านที่เราหาฟังที่ไหนไม่ได้
  4. หากจำนวนเข็มมาก (คงไม่ใช่รั้วแล้วทีนี้) อาจจะเกิดการเบียดตัวของดิน ลองคุยกับเค้าดีๆ อาจจะให้ขุดนำร่อง 1-2 เมตร ก็ช่วยลดปัญหาการเบียดตัวของดินได้ครับ โดยทั่วไปถ้าไม่มี back hoe ผู้รับเหมาชอบขุดนำร่องอยู่แล้วครับ

โดยทั่วไปจึงไม่น่ามีปัญหา แต่ของแบบนี้ต้องดูเฉพาะเจาะจงเป็นเรื่องๆไปครับ น่าจะคุยกันกับเจ้าของบ้านป้องกันไว้ก่อนครับ

จอดรถร้าวแล้วร้าวอีก แก้ไม่หาย (สำหรับดินกรุงเทพฯ)

พื้นลานจอดรถซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระบบพื้นวางบนดิน มีสาเหตุการร้าวดังนี้คือ

 

  1. บดอัดดินไม่แน่น (คือแน่นไม่เท่ากัน) จะเกิดรอยร้าวเป็นแนวยาว พื้นเสียระดับเป็นแอ่ง — การแก้ ทุบทิ้ง บดอัดดิน ทำใหม่ หรือถ้าสภาพดินใต้พื้นถนนแน่น คือทรุดจนนิ่งแล้ว อาจจะเทพื้นถนนใหม่ทับได้เลย
  2. ตัวบ้านใช้เข็มยาว ทรุดน้อย แต่พื้นลานทรุดมากกว่า บริเวณที่พื้นลานไปชนตัวบ้าน ถ้าไม่ตัดแยกให้ดีพอดินทรุด ขอบพื้นลานที่ติดกับบ้านจะถูกง้างยกขึ้นมา รอยแตกจะอยู่แถวๆขอบ — การแก้ ตัดแยกพื้นออกจากตัวบ้าน
  3. ตัวบ้านสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ออกแบบบ้านใช้เข็มยาว ทรุดน้อย แต่พื้นลานทรุดมากกว่า พื้นลานเหนือฐานรากโดนฐานรากค้ำไว้ ปูดขึ้นมา เหมือนใต้สะพานลอย ใต้ทางด่วนในกรุงเทพฯ — การแก้ ตัดพื้นส่วนที่อยู่เหนือฐานรากออก
  4. คุณภาพงานก่อสร้างสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ออกแบบบ้านอื่นๆ เช่นปูนผสมน้ำมากไป ไม่ใส่เหล็กกันร้าว ฯลฯ — การแก้ ทุบทิ้ง ทำใหม่ หรือถ้าสภาพดินใต้พื้นถนนแน่น อาจจะเทพื้นถนนใหม่ทับได้เลย

ส่วนที่แก้แล้วแก้อีกไม่หาย เกิดจากปัญหาข้อ 2 และ 3 หากทุบทิ้งทำใหม่แล้วไม่ตัดแยกพื้นถนนกับอาคาร และเว้นช่องว่างเหนือฐานรากให้ดีก็จะเป็นอีกครับ

 

 

พื้นลานจอดรถหน้าบ้านมักใช้เป็นระบบพื้นวางบนดิน ในขณะที่ตัวบ้านวางบนคานและเสาเข็ม เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการทรุดตัวต่างระดับในจุดที่โครงสร้างทั้งสองระบบมาเจอกัน บ้านสมัยใหม่บางแห่งจะสร้างพื้นลานให้ไม่ติดกับตัวบ้านห่างประมาณ 10 ซม. แล้วโรยกรวดแม่น้ำเป็นการเก็บรอยต่อ และเป็นงานตกแต่งไปในตัว

 

 

แยกหมด โดยรอบพื้นลาน ไม่มีส่วนไหนติดกับตัวบ้านเลย

 

 

เสาด้านหน้าทำหน้าที่รับระเบียงชั้นสองด้านบน ดังนั้นต้องเป็นระบบโครงสร้างวางบนเข็มเช่นเดียวกับตัวบ้าน ต้องแยกกับพื้นลานด้วยครับ

ลานหน้าตึกแถวร้าวแล้วร้าวอีกเหมือนกัน (สำหรับดินกรุงเทพฯ)

ส่วนใหญ่ทางเท้าหน้าตึกแถวในกรุงเทพฯจะทรุด สังเกตได้จากอาการร้าวเอียง สองสามปีเจ้าของบ้านก็จะทุบทิ้งทำใหม่ แล้วก็ร้าวอีก ซ่อมกันไม่หายซักที สาเหตุคือ ดินมีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา และ

 

  1. เทปูนไปชิดตัวอาคาร ทำให้เนื้อปูนพื้นลานสามารถยึดเกาะกับตัวอาคารได้
  2. พื้นลานบริเวณใกล้ๆตัวอาคาร เมื่อทรุดตัวลงแต่ถูกฐานรากซึ่งอยู่ข้างใต้ง้างลอยขึ้นมา

การแก้ไขคือ

  1. อย่าทำพื้นลานให้ติดกับอาคารเดิม เว้นไว้ซัก 10 ซม. เป็นอย่างน้อย
  2. ส่วนฐานรากนั้นให้ใช้เหล็กเส้น 12 หรือ 16 มม. หรือเท่าไหร่ก็ได้ ตอกเข้าไปในดินบริเวณโคนเสาด้านนอกอาคารเพื่อหาตำแหน่งฐานรากว่ากว้างยาวเท่าไร
  3. เวลาเทพื้นลานต้องหลบพื้นที่เหนือฐานรากนี้ออกมารอบๆประมาณ 20 ซม.
  4. รอยต่อส่วนที่เว้นไว้นี้ ระหว่างอาคารกับพื้นลาน เทด้วยวัสดุที่สามารถรื้อปรับได้ง่าย เช่นหินผสมปูน

ถ้าทำได้ถูกต้องแล้ว เมื่อดินมีการทรุดตัว พื้นลานทั้งผืนจะทรุดตัวตามลงไปกับพื้นดิน ไม่แตกร้าวน่าเกลียด แต่คานพื้นชั้นล่างของตัวอาคารอาจจะโผล่ขึ้นมา ตรงนี้แล้วแต่จะเลือกวิธีการตกแต่ง หรืออย่างง่ายๆคือการฉาบปูนธรรมดาให้ดูเรียบร้อยสวยงามครับ

เข็มไม้ไม่ใช้แล้ว (สำหรับดินกรุงเทพฯ)

แต่เดิมมาที่ไม้ยังคงราคาไม่แพง ฐานรากอาคารที่สร้างสมัยหนึ่งมีการใช้เข็มไม้กันมาก แต่การใช้งานที่ถูกต้องมีความคงทนคือ หัวเข็มจะต้องอยู่ใต้ระดับน้ำใต้ดินตลอดเวลา ซึ่งจะมีสภาพเหมือนกับไม้ที่จมอยู่ใต้น้ำก็จะไม่ผุ การใช้งานในลักษณะนี้ทำให้ต้องทำฐานรากอยู่ลึกๆ และต่อเสาตอม่อสูงขึ้นมาซึ่งก็เป็นต้นทุนตัวหนึ่ง

ปัจจุบัน ไม้มีราคาแพง และเสาเข็มคอนกรีตมีราคาถูก อีกทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องการผุเหมือนไม้ เสาเข็มจึงเปลี่ยนมาเป็นเสาคอนกรีตแทน แต่บางครั้งก็ยังมีการใช้เข็มไม้สนท่อนเล็กๆอยู่ เนื่องจากในงานก่อสร้าง หรือต่อเติมเล็กๆที่ต้องใช้แรงคนในการตอก การใช้เข็มไม้สนท่อนเล็กๆสามารถตอกได้ง่ายกว่าเข็มหกเหลี่ยมกลวงมาก ผู้รับเหมาจึงเสนอเป็นเข็มไม้ แต่ต้องไม่ลืมว่าหากจะใช้เข็มไม้ต้องให้ปลายไม้ฝังลงไปลึกไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรือแล้วแต่ระดับน้ำใต้ดิน (ในหน้าแล้ง) บริเวณนั้น เพื่อให้เข็มมีอายุการใช้งานยาวนาน แล้วที่ทำกันหากเจ้าของบ้านไม่ทราบคงจะหายากที่ใครจะมาพิจารณาเรื่องนี้กัน

สรุปว่าไม่ควรใช้ไม้เพราะจะผุอยู่ใต้ดินครับ ที่ใช้เป็นเข็มไม้นั้นจริงๆพอเข็มผุจะกลายเป็นฐานรากระบบวางบนดินโดยไม่รู้ตัว

วิธีเสกถนนให้กลายเป็นหินภายในสามปี

คราวนี้ผมขอแนะนำมายากลของวงการก่อสร้างสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้านอย่างหนึ่งคือ การเสกถนนให้กลายเป็นหินภายในสามปี ทำง่ายมากครับใครๆก็ทำได้ โดยเฉพาะถ้าถนนที่รถเข้าออกมากๆ (ถ้าถนนในบ้านส่วนตัว มีแค่รถเจ้าของบ้านสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้านถอยเข้าออก จะเล่นกลอันนี้ยากหน่อย) ให้ทำดังนี้ครับ

 

  1. ตอนถมดินไม่ต้องบดอัดมาก เอาสิบล้อเหยียบสองสามรอบพอ ดินจะไม่แน่น มีโพรงอยู่ข้างใน
  2. ใช้ความหนาของผิวถนนคอนกรีตน้อยเกินไป เช่น 6ซม. สำหรับรถเก๋ง 10 ซม.สำหรับรถบรรทุก เมื่อโดนน้ำหนักกระแทกซ้ำมากๆก็จะร้าว
  3. คอนกรีตใช้โม่ผสมเอง ไม่ต้องคุมส่วนผสม ปล่อยให้ผู้รับเหมาเติมน้ำมากๆเพื่อให้ตักเทง่าย คอนกรีตจะเป็น LEAN CONCRETE คือคอนกรีตกำลังต่ำ เมื่อโดนล้อยางรถยนต์ขัดสีก็จะหลุดเป็นผงออกมา เห็นหินเป็นเม็ดๆ
  4. ในขณะที่เทคอนกรีต ไม่ต้องใช้เครื่องจี้คอนกรีต (เรียกว่า วาย มาจาก Vibrator เป็นหัวจี้คอนกรีตรูปทรงกระบอกยาวๆสั่นๆ เพื่อไล่ฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต) คอนกรีตจะได้มีโพรงอยู่ในเนื้ออันจะทำให้ความแข็งแรงลดลง
  5. เทถนนเสร็จแล้วทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ต้องบ่ม คอนกรีตจะได้ไม่แข็ง

เท่านั้นแหละครับ ไม่นานถนนของท่านจะแปรสภาพเป็นหินไปเอง มายากลนี้หัดไม่ยาก ผู้รับเหมาพร้อมที่จะทำให้ท่านเต็มที่ ท่านจะได้สร้างถนนใหม่ทุก 3-5 ปี เป็นการแสดงฐานะอย่างหนึ่งว่าท่านร่ำรวยเพียงใด ผู้รับเหมาจะรักท่านอยู่กับท่าน เรียกใช้เมื่อไหร่ มาเมื่อนั้น

วิธีทำถนนจาก หิน ทราย ปูน น้ำ ให้เป็นถนนอยู่ได้สามสิบปี

ตรงกันข้ามหากเราจะสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีความคงทนนั้นทำได้ยากกว่า ต้องมีการคุมงานดังนี้

 

  1. ตอนถมดินต้องมีการบดอัดอย่างดี บดอัดเป็นชั้นๆทุก 30 ซม. ให้เนื้อดินแน่น ไม่มีโพรงอยู่ในดิน กรณีที่เป็นถนนสาธารณะมีรถเข้าออกมาก ต้องมีการตรวจสอบการบดอัดโดยวิธีทางห้องแล็ปซึ่งควรจะใช้ผู้รับเหมาที่มีวิศวกรคุมงานนะครับ
  2. ความหนาของถนนอย่างน้อย 10 ซม.สำหรับรถเก๋งพื้นที่ส่วนตัว 12 ซม.สำหรับรถเก๋ง พื้นที่กึ่งสาธารณะ ถ้ามีรถบรรทุก หรือเป็นพื้นที่สาธารณะ ควรใช้แบบที่วิศวกรกำหนดให้ อย่างน้อยต้อง 15 ซม. หรือแล้วแต่ความหนาแน่นของจำนวนรถครับ
  3. คอนกรีตใช้แบบคอนกรีตผสมเสร็จ มีค่ากำลัง 240 ksc Cylinder มีปูนซีเมนต์ ไม่ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อคอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตร จะทนการขัดสีได้ดี ตอนเทอย่าให้ผู้รับเหมาเติมน้ำนะครับ ให้สั่งปูนตามความเหลวที่สามารถเทได้สะดวก
  4. ตอนเท ใช้เครื่องจี้คอนกรีตด้วย เพื่อให้เนื้อคอนกรีตแน่น มีฟองอากาศน้อย
  5. หลังจากเทเสร็จ ประมาณ 4-5 ชม. คอนกรีตจะเซตตัวแข็งขึ้นเล็กน้อยพอที่คนจะขึ้นไปเดินได้ (แต่ห้ามเครื่องจักรนะครับ) ก็เริ่มทำการบ่มได้ โดยใช้ทราย หรือกระสอบข้าวปูทับผิวถนน แล้วรดน้ำให้เปียกชุ่ม และต้องคอยตรวจสอบให้ใต้ท้องทรายหรือใต้กระสอบอยู่ในสภาพเปียกหรือชื้นอยู่ตลอดเวลา 7 วัน ทิ้งไว้ 15 วัน(จากวันเท)จึงจะให้รถวิ่งผ่านได้

นอกจากนั้นแล้วก็ต้องมีเหล็กเสริมเพียงพอ มีการแบ่ง Joint ถนนเป็นระยะ สำหรับพื้นที่ส่วนตัวท่านอาจจะลองสังเกตตามที่เค้าทำกันหรือปรึกษาช่างได้ แต่พื้นที่ใหญ่ๆน่าจะให้วิศวกรออกแบบให้และใช้ผู้รับเหมาที่มีวิศวกรควบคุมงานครับ เนื้อหาสาระในที่นี้เป็นสิ่งที่น่าจะพบเจอได้ในงานก่อสร้างทั่วๆไป แต่การตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์เป็นเรื่องเฉพาะกรณี ปัญหาทางโครงสร้างควรปรึกษาวิศวกรครับ

สาระน่ารู้เกี่ยวกับสร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน ฐานราก เสาเข็ม ถนน สร้างบ้าน รับสร้างบ้าน บริษัทรับสร้างบ้าน

ที่มา : http://se-net/stonebase


ติดต่อเรา

ที่อยู่ : 2/2 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510

E-Mail : info@homemax.co.th

โทร : 02-918-6500

Fax : 02-906-4263

Facebook : homemaxthailand

admin admin

error: Content is protected !!